ข่าวกิจกรรม

กองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา คณะวิทยาศาสตร์ และทีมวิจัยที่ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานดีเด่น ภาคโปสเตอร์

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ม.บูรพา จัดอบรม พัฒนาบุคลากรด้านการจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น เครือข่าย C-อพ.สธ. ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2565

ทีมวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ม.บูรพา เป็นวิทยากรบรรยาย การประชุมเชิงปฏิบัติการ "จัดทำฐานข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น ภายใต้โครงการ อพ.สธ. จังหวัดชลบุรี"

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ม.บูรพา เข้าร่วมการเยี่ยมเยียนพิจารณาให้คะแนนสถานศึกษา เพื่อขอรับพระราชทานป้ายสนองพระราชดำริในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ข่าวประชาสัมพันธ์

ผลงานวิจัยและกิจกรรม

นักวิจัย ม.บูรพา ค้นพบหอยทากจิ๋ว ที่เล็กที่สุดในโลก พาสำรวจถ้ำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กับรายการ “ธรรมชาติ มาโชว์” ตอน โลกใบจ้อย ของหอยตัวจิ๋ว ออกอากาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายนนี้ เวลา 18.35 น. ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ว่าในถ้ำ ภูเขาหินปูน มีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ที่รอให้เราได้ทำความรู้จัก รวมถึงเจ้าหอยตัวจิ๋วๆ ที่เรียกว่า หอยจิ๋วถ้ำ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก โดยมีขนาดไม่ถึง 1 มิลลิเมตรเท่านั้น ในประเทศไทยยังมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับหอยจิ๋วถ้ำน้อยมาก
ท่านสามารถรับชมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=9Kj4Vu1Ry9k
 
หมายเหตุ : รายการนี้ได้มีการถ่ายทำตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ซึ่งยังไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19

โมบายแอพลิเคชัน (mobile application) สำหรับจัดจำแนกหอยทะเลฝาเดียว

ว่าด้วยเรื่องของหอย….นักวิจัย ม.บูรพา พัฒนาโมบายแอพลิเคชัน (mobile application) สำหรับจัดจำแนกหอยทะเลฝาเดียว (เวอร์ชั่นแรก) Thai Marine Shells Identification สำหรับระบบ android และ Shell ID app สำหรับระบบ ios ซึ่งเป็นแอพลิเคชันแรกของประเทศไทย

👉โดยแอพลิเคชันดังกล่าวสามารถใช้จัดจำแนกหอยทะเลฝาเดียว จากภาพถ่ายตัวอย่างจริง ที่ถ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ และประมวลผลผ่านคลังข้อมูลในระบบ ซึ่งปัจจุบันสามารถจัดจำแนกหอยทะเลฝาเดียวได้จำนวน 80 ชนิดโดยประมาณ แอพนี้ออกแบบมาสำหรับบุคลทั่วไป นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่สนใจในเรื่องของหอย ได้ใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง

👉ซึ่งเป็นผลงานวิจัยจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และนางสาวรัตนวดี ฑีฆะวงษ์ ผู้ร่วมวิจัย